บริการ เข้าหัว Fiber Optic โดยเครื่อง Fusion Splicer
จำนวน Core | ราคา / Core | หมายเหตุ |
---|---|---|
< 12 Core | 3,500 บาท | สมุทรสาคร และ พื้นที่ใกล้เคียง พื้นที่อื่นๆ ค่าเดินทาง 6 บาท/กม. |
24 Core | 250 บาท / Core | สมุทรสาคร และ พื้นที่ใกล้เคียง พื้นที่อื่นๆ ค่าเดินทาง 6 บาท/กม. |
25-60 Core | 240 บาท / Core | สมุทรสาคร และ พื้นที่ใกล้เคียง พื้นที่อื่นๆ ค่าเดินทาง 6 บาท/กม. |
61-100 Core | 230 บาท / Core | สมุทรสาคร และ พื้นที่ใกล้เคียง พื้นที่อื่นๆ ค่าเดินทาง 6 บาท/กม. |
101 Core ขึ้นไป | 200 บาท / Core | สมุทรสาคร และ พื้นที่ใกล้เคียง พื้นที่อื่นๆ ค่าเดินทาง 6 บาท/กม. |
500 Core ขึ้นไป | โทรสอบถามราคา พื้นที่อื่นๆ | ต่างจังหวัดฟรีค่าเดินทาง |
ราคาเปลี่ยนแปลงไปตามโปรโมชั่น โทรเลย. 097-0402777 |
พื้นที่ กรุงเทพฯ, สมุทรปราการ, ปทุมธานี, นนทบุรี, นครปฐม, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร, อยุธยา
รับติดตั้ง Fiber Optic ทั่วประเทศ ทุกภาค ทุกจังหวัด เชียงใหม่ ชลบุรี พัทยา โคราช ขอนแก่น อุดร อุบล เชียงราย หนองคาย กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขัน นครราชสีมา ภูเก็ต กระบี่ และอื่นๆ ทุกหัวเมืองทั่วไทย
อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับงาน เข้าหัว Fiber optic ( Fusion Splicer )
สาย Patch Cord คือสาย Fiber Optics สำเร็จรูป ที่เข้าหัวเรียบร้อย พร้อมใช้งาน แบบในภาพนะครับ ไม่จำเป็นที่หัวสองฝั่งจะเหมือนกัน สายเป็นสาย Patch Cord แบบ FC to LC แบบ Duplex แบบนี้ หมายถึง ฝั้งนึงเป็น FC ฝั่งนึงเป็น LC และต้องมีสองเส้นคู่กันนะครับ แต่ถ้าจะเอาเส้นเดียว ก็ให้เรียกว่า simplex แทน
สาย Pigtail แบบในภาพคือ SC Pigtail คือสายที่เข้าหัว มาแค่ด้านเดียว ส่วนอีกด้านเป็นสายเปล่า สายพวกนี้ ไม่สำหรับงาน เชื่อม Splice สาย Fiber Optic จากสายใหญ่ๆ ที่ลากกันตามท้องถนน แล้วมาเข้ากล่อง แล้วก็เอาปลายพวกนี้แหละต่อออกมาครับ ซ้ายมือ เราเรียกว่า SC Pigtail NO Jacket ส่วนขวามือ เราก็เรียกเหมือนกัน แต่เราจะบอกว่า มันมี Jacket ครับ
Patch Panel คือ กล่องสำหรับเก็บรอยต่อปลายสาย ให้นึกถึง เวลาเราเดินสายดำๆ มา แล้วเราก็จะเอามาเข้า Pigtail ใช่ป่ะครับ เราก็จะต้องมี Patch Panel เพื่อเก็บรอยต่อให้แข็งแรงทนทาน และสวยงาม รวมถึง จะได้ง่ายต่อการใช้งานด้วยครับ
Enclosure หรือกล่องสีดำๆ ที่ห้อยอยู่ตามเสาไฟฟ้า หน้าตาเหมือนในภาพเนี่ย เราไว้ใช้สำหรับ ต่อสาย Fiber Optics พวกสาย Out Door กับสาย Out Door ด้วยกัน คือมันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ที่เราจะลากสายเป็น 100 กม โดยไม่มีรอยแต่ และนี่แหละ คือกล่องเก็บรอยต่อครับ ส่วนชื่อ ผมอ่านว่า เอ็นโครเช่อ
ตู้ ODF ตู้แบบนี้ ก็ไว้เก็บสาย รอบเชื่อม Fiber Optics เหมือนกับ Patch Panel แหละ แต่อันนี้ เป็นชนิดยึดกับผนังครับ กันแดด กันฝนได้ ประมาณนึง ส่วนใหญ่พบเจอได้ตาม เสาโทรศัพท์ ต่างๆ
การเชื่อมต่อ Fiber Optic
การต่อสายไฟเบอร์ออฟติกส์ มี 2 วิธี ได้แก่
การเชื่อมต่อแบบฝน เป็นการเชื่อมแบบมีกล่องพักสาย ( Wall mount ) เชื่อมต่อระหว่างสายไฟเบอร์หลักกับสาย patch cord โดยมี Blank adapter snap plate เป็นจุดเชื่อมต่อ ใช้เครื่องมือต่อเข้าหัว Coupling ด้วย กาว กระดาษทราย และหัวต่อ
วิธีนี้ใช้มีค่าใช้จ่ายน้อย แต่มีค่าลอดทอนสูงกว่าแบบที่ 2 เหมาะกับการใช้งานที่ความถี่ไม่สูงมากนัก 100-500 Mbps
การเชื่อมต่อแบบหลอม หรือเรียกว่า ( splice ) เป็นการเชื่อมด้วยวิธีหลอมสายสองเส้นเข้าหากัน ต้องใช้เครื่องมือ Fusion Splice มีราคาแพงกว่า แต่มีค่าความลดทอนน้อยกว่ามาก เหมาะกับการใช้งานที่มีความถี่สูง 1 Gbps ขึ้นไป
ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลจาก : ศุภโชค พรไชยะสิทธิ์
ขอขอบคุณสำหรับคลิปดีดีจาก : FS.com